วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2565

เห็ดขอน

เห็ดขอนขาว

เป็นเห็ดที่ชาวอีสานเรียกเห็ดชนิดหนึ่งที่ชอบขึ้นบนขอนไม้ตระกูล เต็งรัง และไม้
มะม่วง เห็ดชนิดนี้จะพบมากในช่วงต้นฝน หรือในช่วงที่ฝนชุก ในภาคกลางเรียกเห็ดชนิดนี้ว่า เห็ด
มะม่วง ดอกเห็ดจะเป็นสีขาวนวล หรือครีมกึ่งเหลืองอ่อน ในระยะที่ขอบหมวกดอกยังม้วนงอ เมื่อ
หงายขึ้นมองไม่เห็นครีบใต้ดอก หรือเห็นเป็นบางส่วนในบริเวณที่ครีบติดกับก้านดอก ระยะนี้เหมาะที่
จะเก็บมารับประทานที่สุด เมื่อดอกเริ่มแก่ ขอบหมวกดอกจะค่อยๆ คลายออก เผยอให้เห็นครีบใต้
หมวกและหลังจากนั้นขอบหมวกก็จะยกขึ้น ทำให้ดอกคล้ายรูปถ้วยหรือจานก้นลึก ซึ่งเมื่อถึงระยะนี้
ดอกจะเหนียว ยากต่อการรับประทาน เห็ดขอนขาว เมื่อนำไปประกอบอาหาร จะให้รสชาติหวาน
เหนียวเล็กน้อยคล้ายเนื้อสัตว์เป็นที่นิยมกันมากในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือตอนบน



วิธีการเปิดดอกและโรงเรือนเปิดดอก
การเปิดดอกจะใช้มีดคมๆ กรีดพลาสติกรอบๆ บ่าถุงออกเรียกว่า ตัดบ่า แล้วนำไปวางซ้อน
บนชั้นตัวเอ ซึ่งการเรียงไม่ควรให้สูงเกิน 1.5 เมตร เพราะความชื้นและความเย็นจากพื้นโรงเรือนจะ
ขึ้นไปไม่ถึง นอกจากนี้ยังสะดวกต่อการเก็บดอก ภายในโรงเรือนควรรักษาความชื้นไว้ที่ 70-90 %
โดยการรดน้ำ ระวังอย่าให้น้ำเข้าไปขังในก้อนเชื้อ จะเป็นเหตุให้ก้อนเชื้อเน่าเสียเร็ว อุณหภูมิในการ
เกิดดอก ระหว่าง 20-35 องศา การดูแลจะคล้ายกับเห็ดในตระกูลนางฟ้านางรม


โรงเรือนเปิดดอก
โรงเรือนจะใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่น ไม้ แฝก หญ้าคา พลาสติก เป็นต้น จะต้องเก็บความชื้น
ได้ดี ระบบการถ่ายเทอากาศสะดวก ง่ายต่อการทำความสะอาด ส่วนพื้นโรงเรือนควรใช้วัสดุที่เก็บ
ความชื้นได้ดี เช่น ทราย โรงเรือนที่นิยมมีขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 6 เมตร ที่ผนังด้านยาวมีหน้า
ต่างด้านละหนึ่งบานขนาด 0.45 x 0.65 เมตร นอกจากนี้ที่หน้าจั่วยังมีร่องระบายอากาศ ขนาด 0.4
x 0.6 เมตร โรงเรือนด้านในบุด้วยพลาสติก ด้านนอกมุงด้วยแฝก โรงเรือนควรอยู่ใต้ร่มไม้ หรือใช้
ซาแลนตาถี่ บังแสงด้านในโรงเรือนไม่ให้แสงแดดส่องลงโดยตรง เนื่องจากเห็ดนี้ชอบสภาพอากาศ
ร้อนชื้น ในฤดูหนาวที่มีอุณหภูมิต่ำลงกว่า 20 ๐ซ เกษตรกรในภาคอีสาน จะขุดเป็นห้องใต้ดินเพื่อ
บ่มเชื้อและเปิดดอกในนั้น เป็นห้องเล็กๆ ขนาด 2 x 2 เมตร มีบันไดไม้พาดเดินลงไปส่วนเหนือพื้น
ดิน 0.5 เมตร จะทำเป็นหลังคาพลาสติกปิดคลุมไว้เว้นช่องระบายอากาศเล็กน้อย ดินจะเป็นตัวเก็บ
ความร้อนให้เห็ดออกดอกสม่ำเสมอไม่พักตัวเนื่องจากอากาศเย็น


การเก็บดอกเห็ดขอนขาว
การเก็บดอกเห็ดขอนขาวเกษตรกรจะต้องหมั่นเก็บบ่อยๆ เหมือนเห็ดฟาง เนื่องจากดอกเห็ด
ขอนขาวเจริญเร็วมาก ควรเก็บในเวลา เช้า บ่าย และค่ำ ซึ่งผลผลิตในช่วงหลังจะเก็บไว้ในตู้เย็นแล้ว
นำไปขายปนกับผลผลิตที่เก็บในช่วงเช้า ดอกเห็ดในระยะที่ 1 และ 2 จะเหมาะที่สุดสำหรับการรับ
ประทาน และขาย ได้ราคาสูงกว่าดอกระยะที่ 2 และ 3 การบิโภคจะตัดส่วนโคนก้านออกบ้าง เนื่อง
จากเริ่มจะเหนียวแล้ว

การเก็บรักษาดอกเห็ด
ควรจะเก็บไว้ในที่ร่มเย็น ป้องกันไม่ให้ดอกฉ่ำน้ำจะเน่าเร็ว วิธีง่ายที่สุดคือห่อด้วยกระดาษ
หรือในถุงกระดาษและเก็บไว้ในช่องแช่ผัก หากบรรจุในถุงพลาสติกก็ควรเจาะรูให้ไอระเหยออกไปจะ
เก็บไว้ได้ประมาณ 1 สัปดาห์ หรือจะถนอมไว้โดยต้มกับน้ำเกลือ 3 เปอร์เซ็นต์ แล้วบรรจุในขวดแก้ว
ที่สะอาด เมื่อเย็นก็เก็บไว้ในตู้เย็นช่องใต้ช่องน้ำแข็งจะยืดอายุการเก็บได้นานยิ่งขึ้น

วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2564

นางฟ้าภูฐานแค่ลดน้ำก็ทำเงิน

สำหรับมือใหม่ที่เริ่มเพาะเห็ดมักจะเริ่มจากเห็ด นางรมฮังการี และ เห็ดนางฟ้าภูฐานสำหรับวันนี้ผมจะพามารู้จักกับ เห็ดนางฟ้าภูฐาน ที่หลายๆคนพูดกันติดปากว่า แค่ลดน้ำก็ทำเงิน นางฟ้าภูฐานนั้นเป็นเห็ด
สกุลเดียวกับเห็ดนางรมและเห็ดเป๋าฮื้อ แต่เห็ดนางฟ้าจะมีหมวกและดอกหนากว่าเนื้อจะแน่นกว่าเห็ดนางรม นางฟ้าภูฐานนั้นจัดได้ว่าเป็นเห็ดที่ชอบอากาศค่อนข้างเย็น อุณภูมิควรจะอยู่ที่ 20-35 องศาเซลเซียส ความชื้นประมาณในโรงเรือน 80% หรือบรรยากาศคล้ายฝนตกใหม่ๆนางฟ้าภูฐานก็จะออกดอกมาทำเงินให้อย่างเหลือเชื่อ

วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

การแก้ปัญหาก้อนขี้เลื่อยเก่าโดยมาทำเห็ดฟางในตระก้า



1. ทุบก้อนเชื้อ(ได้จากการเพาะเห็ดในถุงพลาสติก) ให้แตกพอแหลก แต่ไม่ต้องละเอียด

2. ใส่วัสดุเพาะลงในตะกร้าสูงประมาณ 2-3 นิ้ว กดให้พอแน่น และ ให้ชิดขอบตะกร้า

3. โรยผักตบชวาที่หั่นไว้ ลงบนวัสดุเพาะ โดยรอบ

4. นำเชื้อเห็ดฟางมาโรยบนวัสดุเพาะได้เป็น ชั้นที่ 1

5. ทำชั้นที่ 2 และ 3 ด้วยวิธีการเดิม ปิดชั้นที่ 3 ด้วยวัสดุเพาะ ได้เป็น 1 ตะกร้า

6. นำตะกร้าเห็ดฟางใส่กระโจมเพาะเห็ดฟาง

7. รักษาอุณหภูมิในโรงเรือนให้อยู่ที่ 33-38 องศา เมื่อเส้นใยเดินเต็มวัสดุจึงรดน้ำด้วยบัวฝอย

8. เมื่อเกิดตุ่มดอกแล้วรักษาอุณหภูมิให้อยู่ระหว่าง 28-32 องศา ช่วงนี้เห็ดฟางจะเจริญเติบโตขึ้น

9. เก็บดอกตูม หัวพุ่ง ของเห็ดฟาง ให้ชิดรูตะกร้า

รูปแบบกระโจมที่ใช้เพาะเห็ดฟางในตะกร้า
กระโจมแบบเต็นท์ลูกเสือ

กระโจมแบบสุ่มไก