วันพุธที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2557

วิธีป้องกันแมลงศัตรูเห็ด


วิธีการโดยนำตะไคร้หอม ซึ่งมีกลิ่นหอมฉุนเฉพาะตัว และมีสรรพคุณกำจัดแมลงศัตรูต่างๆ ได้ดี มาผลิตสารสกัดเพื่อขับไล่ศัตรูเห็ด โดยนำใบตะไคร้หอมมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ให้ได้ น้ำหนัก 2-3 ขีด ผสมกับน้ำเปล่า 5 ลิตร, กากน้ำตาล 1 ลิตร, น้ำส้มสายชูกลั่น, เหล้าขาว และนมเปรี้ยว อีก 1 ขวดเล็ก หมักทิ้งไว้ในถังปิดฝาให้สนิท หมั่นเขย่าถังทุกวัน  ประมาณ 15 วัน ก็นำไปใช้ฉีดพ่นในโรงเพาะเห็ดได้แล้ว โดยใช้ในอัตราสารสกัด 1 ส่วน ต่อ น้ำ 1,000  ส่วน แต่ถ้ามีแมลงศัตรูเห็ดระบาดมาก ให้ใช้เข้มข้นขึ้น ในอัตราสารสกัด 1 ส่วนต่อน้ำ 500 ส่วน ฉีดพ่นสัปดาห์ละ 1 ถึง 2 ครั้ง จะสามารถไล่แมลงศัตรูเห็ด ได้ผลถึง 90 เปอร์เซ็นต์ และไม่มีพิษอันตรายตกค้าง

cr 
คุณปิติพงษ์ ปิ่นทอง

ฮอร์โมนไข่ เป็นฮอร์โมนสำหรับเร่งการเจริญเติบโต และเพิ่มน้ำหนักของดอกเห็ด


ฮอโมนไข่

ส่วนประกอบ

1. ไข่ไก่ทั้งฟอง 1 กก. 
2. กากน้ำตาล 1 กก. 
3. แป้งข้าวหมาก 1 ลูก 
4. ยาคูลท์ 1 ขวด

วิธีทำ : ชั่งกากน้ำตาลในถังที่จะใช้หมัก 1 กิโลกรัม ใส่ไข่ไก่ลงไปทั้งฟอง 1 กิโลกรัม จากนั้นใช้ไม้ ที่คนกระทุ้งไข่ให้แตก หรืออาจจะใช้เครื่องปั่นผลไม้ปั่นให้ละเอียดทั้ง เปลือกแล้วเทลงไปในกากน้ำตาลคนให้เข้ากัน หลังจากนั้นเติมยาคูลท์ลงไป 1 ขวด คนอีกครั้งหนึ่งแล้วตามด้วยลูกแป้งข้าว หมากใส่ถุง พลาสติกบี้ให้เป็นผงเสียก่อนจึงใส่ลงไป จากนั้นคนส่วนผสมทั้งหมดให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน หาฝาปิด ให้เหลือช่องอากาศแต่น้อยนำไปเก็บในที่ร่มอากาศถ่ายเทสะดวก หมักไว้ 7 วัน ไม่ต้องคน จากนั้นนำมาใช้ได้ ถ้าเก็บฮอร์โมนไข่ไว้นานเกิดจับตัวแข็ง ให้เติมน้ำมะพร้าวอ่อนลงไปคนพอเหลวหากผสม ฮอร์โมนไข่เพื่อฉีดพ่นอาจต้องการกรองเปลือกไข่ออก เพื่อป้องกันหัวฉีดอุดตัน

วิธีใช้ : ผสมฮอร์โมนไข่ 5-10 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วก้อนเชื้อ ให้เปียกชุ่มโชก ช่วงตอนเย็นแดดอ่อน ทุก 5-7 วัน ดอกเห็ดจะเจริญสมบูรณ์แข็งแรงดี ให้ดอกออกผลรวดเร็วเกินคาด
ที่มา : กลุ่มอาชีพเพาะเห็ดบ้านอ่างหิน จ.ราชบุรี

หญ้า 3 ชนิด ที่นำมาเพาะเห็ดได้


หญ้า 3 ชนิด ที่นำมาเพาะเห็ดได้


ปัจจุบัน ชุมชนท้องถิ่นบางแห่งในเขตภาคเหนือ  โดยเฉพาะเขตภูเขา และชุมชนตามแนวชายแดน มักมีการประกอบอาชีพไม่เป็นหลักแหล่ง และมีการทำเกษตรกรรมที่ไม่ยั่งยืน เช่น การทำไร่เลื่อนลอย การปลูกพืชเสพติด หรือแม้กระทั่งการตัดไม้ทำลายป่า ก่อให้เกิดผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม  การไม่ได้รับการศึกษาและการขาดการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพที่เหมาะสมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นสาเหตุหลักของปัญหาดังกล่าว  การสร้างอาชีพโดยการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาปรับใช้ให้เกิดความสอดคล้องกับชุมชนนับเป็นทางเลือกที่นักวิชาการ นักวิจัย ตลอดจนหน่วยงานต่างๆ ต้องให้ความสนใจ  ไบโอเทคได้เล็งเห็นความสำคัญในการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาแบบยั่งยืนในพื้นที่สูงและด้านนิเวศวิทยาของชุมชน ด้วยการพัฒนาอาชีพชุมชนในชนบทและการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ จึงได้สนับสนุนทุนโครงการวิจัย “ศึกษาการใช้วัชพืชในเขตพื้นที่ไร่เลื่อนลอยเพื่อเป็นวัสดุเพาะเห็ดชนิดต่างๆ”  โดยมีนางสาวนันทินี  ศรีจุมปา  นักวิชาการเกษตร  จากศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย จังหวัดเชียงราย เป็นหัวหน้าโครงการ โครงการวิจัยนี้ ได้ใช้โจทย์ของการส่งเสริมการประกอบอาชีพเพาะเห็ดในชุมชนหมู่บ้านปางสา อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงใหม่ นำไปสู่อาชีพที่ยั่งยืนบนพื้นฐานของการใช้วัสดุในท้องถิ่นให้เป็นประโยชน์ โดยหวังผลสำเร็จของโครงการให้เป็นกรณีศึกษาสำหรับพื้นที่ใกล้เคียงและพื้นที่อื่นที่มีลักษณะภูมิประเทศและเงื่อนไขใกล้เคียงกัน 

ในขั้นต้นผู้วิจัยได้ศึกษาวัชพืชในท้องถิ่น และคัดเลือกวัชพืชที่เหมาะสมมาทดลองเพาะเห็ดแทนขี้เลื่อยไม้ยางพาราซึ่งเป็นวัสดุหลักในการทำก้อนเชื้อเพาะเห็ดที่มีแนวโน้มของราคาสูงขึ้นเนื่องจากต้นทุนด้านการขนส่ง ในขณะเดียวกันผู้วิจัยได้ประดิษฐ์เครื่องต้นแบบในการบดย่อยวัชพืชที่ได้ เนื่องจากลำต้นของวัชพืชมีลักษณะแข็ง ยากต่อการตัด หรือสับ ต่อมาจึงนำวัชพืชที่คัดเลือกแล้วมาบดย่อยโดยเครื่องต้นแบบที่พัฒนาได้ และนำวัชพืชมาผสมกันในอัตราส่วนต่างๆ และนำมาหมัก หลังจากนั้นจึงทดลองเพาะเลี้ยงเห็ดตระกูลนางรมเพื่อให้ได้ผลผลิตที่เหมาะสม 

จากการวิจัย  สามารถนำวัชพืชในท้องถิ่นจำนวน 3 ชนิด คือ หญ้าแขม หญ้าเลา และหญ้าก๋ง มาใช้เป็นวัสดุเพาะเห็ดตระกูลนางรม คือ เห็ดนางรมฮังการี  และเห็ดนางฟ้าภูฏาน และพบว่าผลผลิตเห็ดที่ได้สูงกว่าการใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพารา ซึ่งแสดงว่าวัชพืชดังกล่าวมีศักยภาพเพียงพอที่จะใช้เป็นวัสดุเพาะเห็ดทดแทนขี้เลื่อยได้ นอกจากนี้ เมื่อนำเห็ดทั้งสองชนิดที่เพาะจากวัชพืชมาวิเคราะห์ปริมาณโปรตีนพบว่ามีปริมาณมากกว่าเห็ดที่เพาะจากขี้เลื่อยไม้ยางพารา โครงการนี้ไม่เฉพาะเพียงทีมผู้วิจัยเท่านั้นที่ดำเนินงานวิจัย ประชากรในชุมชนยังมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการสำรวจและเลือกชนิดของวัชพืช ตลอดจนการทดลองเพาะเห็ด นับเป็นโครงการวิจัยหนึ่งที่จะส่งผลกระทบต่อชุมชนในด้านบวก  ในอนาคตเมื่อมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีอย่างทั่วถึง ชุมชนจะสามารถประกอบอาชีพที่ยั่งยืนทดแทนการทำไร่เลื่อนลอย เท่ากับว่าเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้อีกทางหนึ่ง 

ที่มา:ศูนย์ไบโอเทค

การทำฮอร์โมนเร่งดอกเห็ด



การทำฮอร์โมนเร่งดอกเห็ด


- ใช้นมสด (ตราเหยี่ยว) อัตราส่วน 2 ช้อนโต๊ะ
- น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ
- น้ำ ครึ่งลิตร ( 500 ซี.ซี)  
           
           ผสมนมสดและน้ำตาลทรายกวนให้เข้ากัน เติมน้ำครึ่งลิตร ใส่กระบอกน้ำฉีดพ่นที่ปากถุงเห็ด ฉีด 20 วัน/ครั้ง หรือดูว่าผลผลิตเริ่มลดลง เช่น ดอกเล็ก ดอกผอม ใช้สลับหรือใช้ร่วมกับการใช้น้ำหมักชีวภาพ ร่วมด้วยจะทำให้ตีนเห็ดโต ดอกโตและอวบขึ้น ยืดอายุการเก็บเห็ดเพิ่ม

การทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อหมักเศษตีนเห็ด

- น้ำ 100 ลิตร
- อีเอ็ม/น้ำหมักชีวิภาพ 1 ลิตร
- กากน้ำตาล 2 ลิตรครึ่ง
          นำทั้ง 3 ส่วนผสมเข้าด้วยกัน หมักทิ้งไว 15 วัน กวนทุกวันปิดปากถังให้สนิท หลังจากนั้นเติมน้ำลงไปทุกวัน วันละ 5 ลิตรจนครบ 200 ลิตร นำเศษเห็ดที่เหลือ เช่น ตีนเห็ด เศษเห็ด ไปหมักในถังน้ำหมักชีวภาพ

วิธีใช้
ใช้น้ำหมักชีวภาพ 10 ลิตร ผสมน้ำ 10 ลิตร ( หากเข้มข้นเกินให้ปรับลดน้ำปุ๋ยหมักชีวภาพได้ตามความเหมาะสม ) ฉีด 2-3 วัน/ครั้ง ใส่กระบอกฉีดพ่นฝอยบริเวณปากถุง ไม่ควรฉีดใกล้ปากถุงเกินไป เพราะจะทำให้เกิดเชื้อราชนิดอื่นตามมาได้

น้ำหมักฮอร์โมนจากตีนเห็ด 

ฮอร์โมนเร่งให้ออกดอกเร็ว ตีนเห็ด/เศษเห็ด1กก. กากน้ำตาล1ลิตร พด.1 =1ซอง อีเอ็ม1ลิตร น้ำ20ลิตร หมักในถังปิดฝา15วัน ใช้ฉีดพ่นได้เลย
      
วัสดุ และอุปกรณ์
1. ตีนเห็ดและเศษเห็ด 3 กิโลกรัม
2. กากน้ำตาล 1 ลิตร
3. EM 1 ลิตร
4. พด.1(ขอรับฟรีได้ที่กรมพัฒนาที่ดิน) 1 ซอง
5. น้ำสะอาด 20 ลิตร
6. ถังหมักพลาสติกที่มีฝาปิด 1 ถัง

วิธีการ : นำส่วนผสมทั้งหมดนี้นำมาผสมกันในถังหมักพลาสติกที่มีฝาปิดแล้วทำการหมักไว้ 15 วัน คนทุก เช้า-เย็น ทุกวัน ก็สามารถนำมาฉีดพ่นเพื่อใช้บำรุงดอกเห็ดได้เลยโดยไม่ต้องผสมน้ำเพิ่มจะช่วย บำรุงก้อนเชื้อเห็ดทำให้เห็ดออกดอกได้เร็ว ดอกเห็ดมีขนาดใหญ่น้ำหนักดีและสามารถช่วยทำให้เห็ดออกดอกได้หลายรุ่นเพิ่ม ขึ้น

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : คุณเจนจิรา ถิ่นทุมทอง 133 หมู่ 17 บ.สันโค้งใหม่ ต.ห้วยสัก อ.เมือง จ.เชียงราย